วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประเภทของแรม

1. เอฟพีเอ็มดีแรม (Fast Page Mode Dynamic RAM : FPM DRAM) เป็นแรมที่พัฒนาหลังจากไดนามิกแรมธรรมดาในยุคแรกๆ เอฟพีเอ็มดีแรมเป็นแรมชนิดที่เก่าที่สุดที่ยังคงมีขายอยู่ ในตลาดคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันยังคงมีการผลิตมาจำหน่ายแต่น้อยมาก ทำให้เป็นแรมชนิดที่มีราคาแพง

2. อีดีโอแรม (Extended Data Output RAM : EDO RAM) เป็นแรมที่พัฒนาขึ้นหลังจากเอฟพีเอ็มดีแรม พัฒนาขึ้นในปี พ.ศ.2538 โดยบริษัทไมครอนในประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับเพนเทียมเอ็มเอ็มเอ็กซ์ เพนเทียมโปร ซึ่งไม่เป็นที่นิยมแล้วในปัจจุบัน
3. เอสดีแรม (Synchronous Dynamic RAM : SDRAM) หลังจาก พ.ศ. 2538 การพัฒนาไมโครโพรเซสเซอร์เป็นไปอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผลิตในยุคต่อมาเพนเทียมทูร์ (Pentium II) และเพนเทียมทรี (Pentium III) เป็นเครืองที่มีความถี่สูงกว่า 66 เมกะเฮิรตซ์ และมีแนวโน้มที่จะพัฒนาต่อมาเรื่อยๆ มีผลให้อีดีโอแรมทำงานได้ไม่ดีพอ จึงมีการผลิตแรมที่เรียกว่าเอสดีแรมซึ่งเป็นแรมชนิดที่ยังใช้งานอยู่ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ปัจจุบัน
4. ดีดีอาร์ เอสดีแรม (Double Data Rate Synchronous Dynamic RAM : DDR SDRAM) เป็นแรมที่พัฒนามาจากเอสดีแรม นิยมเรียกอีกอย่างว่า ดีอาร์ดีแรม (DRDRAM) สามารถทำงานได้เร็วกว่าเอสดีแรมธรรมดา 2 เท่า 5. อาร์ดีแรม (Rambus Dynamic RAM : RDRAM) เป็นแรมที่ได้รับการออกแบบระบบใหม่ ให้แตกต่างจากแรมชนิดอื่นที่ได้กล่าวมาข้างต้น พัฒนาโดยบริษัทแรมบัส (Rambus Inc.) ส่งข้อมูลผ่านทางบัสที่มีความเร็วสูง เป็นแรมประเภทที่มีราคาแพงและการใช้งานซับซ้อน จึงไม่เป็นที่นิยมเท่ากับเอสดีแรม และดีดีอาร์เอสดีแรม

วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553

คอมพิวเตอร์งบประมาณ10,000บาท
INTEL 775 CELERON E3300 2.5 GHz 1,620บาท

ASROCK G31M-S 1,290.00บาท

KINGSTON-1 GB DDRII-800 960บาท

Samsung 500GB HDD 502IJ (16MB) (7200 RPM) 2,010บาท

HP W17q (GA028AA) 3,390บาท+Mouse 99บาท+Keyboard 120บาทCase+PowerSupply 450บาท

รวม 9,939 บาท

วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ความมายของคอมพิวเตอร์




คอมพิวเตอร์ หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้ในการคำนวณ (Calculating Device) มาจากคำศัพท์ภาษาละตินว่า COMPUTARE ซึ่งหมายถึง การนับ หรือการคำนวณจะเห็นว่ามีอุปกรณ์มากมายที่เราสามารถใช้ในการคำนวณได้ เช่น ลูกคิด (Abacus) เครื่องบวกเลข (Adding Machine) หรือ เครื่องคิเลข(Pocket Calculator) ที่เราสามารถพกพาไปไหนได้

วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

งานบริการคอมพิวเตอร์

หน่วยที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
หน่วยที่ 2 การทำงานของคอมพิวเตอร์
หน่วยที่ 3 ขั้นตอนการใช้คอมพิวเตอร์
หน่วยที่ 4 ส่วนประกอบของวงจรหลัก
หน่วยที่ 5 อุปกรณ์รับข้อมูลและเก็บข้อมูล
หน่วยที่ 6 ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์
หน่วยที่ 7 การติดตั้งสายไฟสายสัญญาณ
หน่วยที่ 8 ติดตั้งอุปกรณ์แสดงผล
หน่วยที่ 9 การจัดการฮาร์ดดิสก์
หน่วยที่ 10 การติดตั้งระบบปฏิบัติการ
หน่วยที่ 11 การติดตั้งไดรเวอร์
หน่วยที่ 12 รักษาความสะอาดคอมพิวเตอร์